เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า มุนี ในคำว่า มุนีไม่ใส่ใจ อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ คือ
ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ผู้ที่ประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่ามุนี คือ ผู้บรรลุโมนญาณ ... ก้าวล่วงกิเลสเครื่อง
ข้องและตัณหาดุจตาข่ายแล้ว ผู้นั้นชื่อว่ามุนี1 ผู้ใดใส่ใจคำกล่าวร้าย ผู้นั้นก็ใส่ใจคำ
กล่าวร้าย ด้วยเหตุ 2 อย่าง คือ
1. ผู้กล่าวร้าย ย่อมใส่ใจคำกล่าวร้าย เพราะตนเองเป็นผู้กล่าวร้าย
2. ผู้ถูกเขากล่าวร้าย ถูกเขากล่าวติเตียน ย่อมโกรธ พยาบาท ตอบโต้
ทำความโกรธ ความเคือง ความชิงชังให้ปรากฏว่า เราไม่ใช่ผู้พูด ผู้ใด
ใส่ใจคำกล่าวร้าย ผู้นั้นก็ย่อมใส่ใจคำกล่าวร้าย ด้วยเหตุ 2 อย่างเหล่านี้
มุนีไม่ใส่ใจคำกล่าวร้าย ด้วยเหตุ 2 อย่าง คือ
1. มุนีผู้ไม่กล่าวร้าย ย่อมไม่ใส่ใจคำกล่าวร้าย เพราะตนเองมิใช่เป็นผู้กล่าว
ร้าย
2. มุนีผู้ถูกเขากล่าวร้าย ถูกเขาติเตียน ก็ย่อมไม่โกรธ ไม่พยาบาท
ไม่ตอบโต้ ไม่ทำความโกรธ ความเคือง ความชิงชังให้ปรากฏว่า เราไม่
ใช่ผู้พูด มุนีไม่ใส่ใจ คือ ไม่สนใจ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นคำกล่าวร้าย
ด้วยเหตุ 2 อย่างเหล่านี้
รวมความว่า แต่มุนีไม่ใส่ใจคำกล่าวร้ายที่เกิดขึ้น

ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิต 3 ประการ
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น มุนีจึงไม่มีกิเลสเครื่องตรึงจิตใน
ที่ไหน ๆ ได้แก่ เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น
เพราะต้นเหตุนั้น ภาวะที่มีจิตถูกโทสะกระทบก็ดี มีกิเลสเครื่องตรึงจิตเกิดขึ้นก็ดี
ไม่มีแก่มุนี กิเลสเครื่องตรึงจิต 5 อย่างก็ดี กิเลสเครื่องตรึงจิต 3 อย่าง คือ (1) ราคะ
(2) โทสะ (3) โมหะ ก็ดี จึงไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ คือ กิเลสเครื่อง
ตรึงจิตนั้น มุนีละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้น
ไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว

เชิงอรรถ :
1 มุนี ดูรายละเอียดข้อ 14/68-70

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :75 }